









"หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม"
ม่อฮ่อม หรือ หม้อห้อม
เสื้อ “ม่อฮ่อม” เป็นเสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีคราม ดำ คอกลม ผ่าอก แขนยาวหรือแขนสั้น มีทั้งแบบที่ใช้กระดุมกลัดและที่ใช้ผ้าเย็บเป็นเชือกผูก เป็นเสื้อที่ชายชาวภาคเหนือสวมใส่กันเป็นปรกติในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันเสื้อม่อฮ่อมได้เปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบของเสื้อให้มีความสวยงามยิ่งขึ้นและได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ เพราะสวมสบาย ทนทาน และราคาถูก บางครั้งบางคราวเสื้อม่อฮ่อมยังได้รับเกียรติให้เป็นเสื้อสำหรับใส่ในงานเลี้ยงอาหารในโอกาสรับรองแขกต่างบ้านต่างเมืองด้วย
ประวัติและความเป็นมาของผ้าหม้อห้อม
ผ้าหม้อห้อม เป็นผ้าพื้นเมืองที่สำคัญของจังหวัดแพร่ และชาวบ้านตำบลทุ่งโฮ้ง ใช้ผ้าฝ้ายที่ได้จากการทอย้อมด้วยสีครามที่ได้จากต้นห้อมหรือต้นคราม จะได้ผ้าสีเดียวกันตลอดทั้งผืน ผ้าห้อมห้อม เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความงามทางวัฒนธรรมการแต่งกายของคนเมืองแพร่อย่างแท้จริง บ่งบอกถึงความเป็นชาติพันธุ์ที่มีประวัติศาสตร์ ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษชาวไทยพวน บ้านทุ่ง- โฮ้งมาอย่างยาวนาน ผ้าหม้อฮ่อมได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทยพวนที่อพยพมาจากแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน

ชาวไทพวนคือใคร??
ไทพวน หรือ ลาวพวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท ใช้ภาษาพวน ซึ่งเป็นตระกูลภาษาขร้า-ไท อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เดิมอาศัยอยู่ในประเทศลาว พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ
วิถีชีวิต
ชาวพวนมีนิสัย รักความสงบ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักอิสระ มีความขยันขันแข็งในการการประกอบอาชีพ เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะทำงานหัตถกรรม ,uอาชีพทำผ้าหม้อห้อม หม้อห้อม ประกอบด้วย ต้นครามหรือต้นฮ้อมและน้ำขี้เถ่า เขาเรียกว่า น้ำด่าง วิธีทำน้ำด่างคือเอาขี้เถ้าใส่ปิ๊บแล้วเจาะรูที่ก้มปิ๊บแล้วให้มันหยดจะได้น้ำด่าง ตอนนี้แถวนี้ก็ยังทำกันอยู่แต่จะใช้ครามสำเร็จรูปแต่ก็ยังเอามาผสมกับน้ำด่างอยู่ ลักษณะของครามสำเร็จรูปจะเป็นก้อนเหลว ๆ คล้ายดินน้ำมัน ผ้าหม้อห้อมแท้ ๆ เกิดจากผ้าดิบ วิธีการทำผ้าหม้อห้อมเกิดจากปลูกฝ้ายก่อนแล้วก็เอามาปั่นด้วย เข็น คือ เครื่องปั่นฝ้าย ปั่นจนมันฟูเป็นเส้นด้าย ก็เอาไปชุบน้ำข้าวแล้วเอามาพัดหลอดให้มันเป็นหลอดด้ายเล็ก ๆ แล้วก็เอาไปขึงโยงสายเป็นเส้น ๆ เป็นสายยาว ๆ แล้วก็เอาไปทอ มันจะได้ผ้าขาว เอาไปย้อมในหม้อโอ่งจะมีใบครามแช่จนเปลื่อยผสมกับปูนแดงหรือปูนขาวก็ได้ และผสมกับน้ำด่างจากขึ้เถ้า จะได้สีครามเข้มออกคล้าย ๆ กับสีดำ แล้วเอาลงย้อมประมาณ 4- 5 ครั้ง สีจะติดทนนาน บางครั้งใส่จนเสื้อขาดแล้วก็ยังสีเข้มอยู่ เวลาเอามาตัดเย็บก็นิยมตัดเป็น ซ้ง กับ เสื้อ



ต้นห้อม(ฮ่อม)
ต้นฮ่อม เป็นไม้ล้มลุกชนิด Baphicacanthus cusia Brem. ในวงศ์ Acanthaceae พืชร่วมตระกูล ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร คราม พญายอ ทองพันชั่ง ฯลฯ ที่มีในเขตจีนตอนใต้ (คุณหมิง สิบสองปันนา) ลาว เวียดนาม พม่า(รัฐฉาน) ในประเทศไทยพบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามรูปวงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ใบเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเท่ากับฝ่ามือของผู้ใหญ่ ดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบมีดอกย้อยหลายดอก กลีบดอกสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งงอเล็กน้อย ลำต้นสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยลำต้นนำมาปักชำไว้รากจะงอกบริเวณข้อ ต้นฮ่อมจะเติบโตได้ดีในที่ที่มีแดดรำไร มีความชุ่มชื้นสูง และน้ำซึมตลอดเวลา ใบฮ่อมสามารถเก็บมาหมักใช้ทำสีครามได้เมื่อย่างเข้าปีที่ 2 ระยะของการเก็บไม่จำกัดขึ้นอยู่กับว่าจะออกแขนงช้าหรือเร็ว ถ้าฮ่อมต้นใหญ่จะตัดทั้งกิ่งและใบมาใช้ แต่ถ้ายังเป็นต้นเล็กก็จะใช้ใบเป็นหลัก โดยนำเอาต้นและใบฮ่อมมาหมักในหม้อที่บรรจุน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ทำให้ได้น้ำสีครามที่จะนำมาย้อมผ้าขาวให้เป็นผ้าคราม ที่เรียกกันว่า ผ้าม่อฮ่อม หรือ ผ้าหม้อฮ่อม ซึ่งเป็นผ้าที่ชาวแพร่และคนไทยทั่วประเทศนิยมใช้กันทุกเพศทุกวัย รวมถึงชาวต่างชาติ ก็นิยมใช้ผ้าม่อฮ่อมกันมาก เพราะผ้าม่อฮ่อมเป็นผ้าย้อมที่สวมใส่สบายเหมาะกับอากาศร้อนอย่างเมืองไทย เนื้อผ้าดี สีสันสวยงาม ดูแลรักษาง่าย และราคาถูก



การปลูกและการดูแลรักษา
สามารถทำได้โดยการไถเตรียมดิน 2 ครั้ง ครั้งแรก ไถตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ครั้งที่สอง ไถผสมปุ๋ยคอกมูลวัวผสมกับดินในอัตราส่วน 1 ตัน ต่อไร่ พร้อมกับขึ้นแปลงภายใต้โรงเรือนที่พรางแสง ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยแต่ละแปลงมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร นำกิ่งห้อม ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ที่มีข้อปล้องด้านล่าง ประมาณ 1 ข้อ ไปชำไว้ในกระบะปูนที่มีส่วนผสมของวัสดุปลูก คือ ดินและแกลบดำ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ใช้เวลาประมาณ 14 วัน รากจะเริ่มออกมาตามข้อกิ่ง จากนั้นนำกิ่งชำที่มีรากสมบูรณ์ลงแปลงปลูก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 60 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร (ระยะที่เหมาะสม ให้ผลผลิตสูง) ภายในโรงเรือนต้องให้มีความชุ่มชื้นอยู่ตลอด แต่ไม่ถึงขนาดน้ำขังในแปลง ซึ่งการให้น้ำจะใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์ เปิดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง (เช้า-เย็น) ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง แต่หากในช่วงต้นเล็ก ให้วันเว้นวัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและฤดูกาล เสริมปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 และ 46-0-0 เดือนละ 1 ครั้ง ต้นห้อมอายุครบ 6 เดือน จะพร้อมให้เก็บผลผลิต ซึ่งน้ำหนักเฉลี่ยต่อไร่ที่เกษตรกรจะได้ประมาณ 1,254.4 กิโลกรัม ซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะใช้วิธีตัดกิ่ง ก้าน ใบ และยอด ความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร จากยอดลงมา


ขั้นตอนการทำห้อมเปียก
1 ตัดห้อมในตอนเช้า หรือตอนเย็นจำนวน 10-15กิโลกรัม
2 นำห้อมแช่ในน้ำ 80-100ลิตร นำวสดุกดใบห้อมให้จมน้ำ ทิ้งไว้นาน2-3คืน
3 นำเอาเศษกิ่งก้านห้อมออก
4 กรองด้วยผ้าข้าวบาง
5 ตีน้ำห้อมให้เกิดฟองด้วยชะลอม "ซวก" เป็นการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำทำจนกระทั้งฟองยุบตัว
ุ6 กรองด้วยผ้าหนา
7 ได้ห้อมเปียก เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมของการทำน้ำหม้อห้อม


การทำน้ำย้อมผ้าหม้อห้อม
ส่วนผสม
1) ห้อมเปียก 1 กิลโลกรัม
2) น้ำด่าง 2 ลิตร
3)น้ำมะขามเปียก 300 กรัม

วิธีทำ
1 ผสมห้อมเปียก น้ำด่าง น้ำมะขามเปียก คนให้เข้ากัน
2 เติมอากาศโดยใช้ขันน้ำตักขึ้นแล้วเทลงให้เกิดฟอง
3 บรรจุไว้ในหม้อ เรียกว่า "หม้อห้อม"

ขั้นตอนการย้อมเสื้อผ้าหม้อห้อม
1. นำผ้าฝ้ายสีขาว (ผ้าดิบ) ตัดเย็บตามแบบที่ต้องการให้เรียบร้อย หรือ อาจตัดผ้าเป็นผืนก็ได้ นำไปแช่ในโอ่งหรือถังน้ำสะอาดธรรมดา เพื่อให้ แป้งหรือสิ่งสกปรกที่ติดมากับเนื้อผ้าหลุดออกหมด จากนั้นนำผ้ามาตาก แดดให้แห้ง


2.นำผ้าที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วมามัดลายตามที่ต้องการ



3. เมื่อทำลายที่ต้องการแล้ว นำผ้าดิบแห้งหมาดๆ จุ่มลงในโอ่งที่บรรจุสีย้อมที่เตรียมไว้แล้ว สวมถุง มือยางขยำผ้า ถ้าไม่ขยำจะท าให้สีของเนื้อผ้าไม่สม่ำเสมอ จากนั้นนำผ้าที่ ขยำเสร็จ มาผึ่งลมไว้จนหมาด นำผ้าที่ตากใว้ซึ่งแห้งหมาดๆ มาทำซ้ำอย่างเดิมอีกประมาณ 5-6 ครั้ง จนสีผ้าเป็นสีครามเข้ม (การย้อมซ้ำหลาย ครั้งมีข้อดี คือ สีครามที่ย้อมจะติดผ้าทั่วผืน สีเสมอกัน และสีที่ย้อมจะติด ทนนาน)



4. นำผ้าที่ผ่านการย้อมแล้วไปตากให้แห้ง


5. เมื่อแห้ง ให้นำไปซักและนำมาตากอีกรอบรอจนแห้งก็สามารถนำไปใช้งานได้


" เราก็จะได้หม้อห้อมลายสวยๆมาใช้ "
